
ครูปฐมวัยพึงสังเกตข้อบ่งชี้ทางร่างกาย (Physical indicators) ดังต่อไปนี้
- รอยฟกช้ำดำเขียว (Bruise) และรอยถูกเฆี่ยนตี (Welt) ที่อธิบายไม่ได้
- ตามลำตัว (Torso) แผ่นหลัง ก้น (Buttock) ขาอ่อน (Thigh) หรือใบหน้า
-
ร่องรอยของวัตถุที่ใช้ในการทำร้ายร่างกาย (อาทิ เข็มขัด และสายไฟฟ้า)
-
ปรากฏอย่างสม่ำเสมอ หลังจากเรียน วันหยุด หรือสุดสัปดาห์
-
รอยแผลไหม้ (Burn) ที่อธิบายไม่ได้
- ตามฝ่าเท้า (Sole) ฝ่ามือ (Palm) แผ่นหลัง ก้น หรือศีรษะ
-
รอยลวกจากการแช่น้ำร้อน (Immersion)
- ตามก้น หรืออวัยวะเพศ (Genital)
-
รอยกระดูกหักหรือแตกร้าว (Fracture) หรืออวัยวะอยู่ผิดที่ (Dislocation)
-
รอยโล่งเตียน (Bald patch) บนหนังศีรษะ (Scalp)
ครูปฐมวัยพึงสังเกตข้อบ่งชี้ทางพฤติกรรม (Behavioral indicators) ดังต่อไปนี้
- เด็กพูดว่า เขา “สมควรได้รับโทษ”
-
เด็กรู้สึกกลัวเมื่อเห็นเด็กอื่นร้องไห้
-
พฤติกรรมสุดขั้ว (Extreme) อาทิ ก้าวร้าว (Aggressive) หรือ หดหัว (Withdrawn)
-
หวาดกลัว (Frightened) ต่อพ่อแม่ หรือผู้ดูแล
-
หวาดกลัวที่ต้องกลับบ้าน
-
เด็กรายงานว่าถูกพ่อแม่ หรือผู้ดูแลกระทำทารุณกรรม
-
แสดงออกที่ไม่เหมาะสม หรือขาดวุฒิภาวะ (Immature)
-
ต้องการความเอ็นดู (Affection) [เป็นพิเศษ]
-
มีพฤติกรรมปรับเปลี่ยน (Manipulative behavior) เพื่อเรียกร้องความสนใจ
-
มีแนวโน้มที่จะสร้างความสัมพันธ์แบบผิวเผิน (Superficial)
-
ไม่มีสมาธิ - มักเหม่อลอย (Daydream)
-
มีพฤติกรรมกระทำทารุณกรรมตนเอง (Self-abusive) หรือไม่มีความกังวลในเรื่องความปลอดภัยของตนเอง
-
ระมัดระวัง (Wary) การถูกผู้ใหญ่สัมผัส
แหล่งข้อมูล
- Morrison, George S. (2014). Fundamentals of Early Childhood Education (7th Ed). Upper Saddle River, NJ: Pearson Education, Inc.
- Child physical abuse - http://www.americanhumane.org/children/stop-child-abuse/fact-sheets/child-physical-abuse.html (2013, December 26].