
โปรแกรมการศึกษาสำหรับเด็กแต่ละคน (Individualized education program : IEP) มีหลากหลายจุดประสงค์ด้วยกัน กล่าวคือ
- พิทักษ์เด็กและพ่อแม่ โดยให้แน่ใจว่า มีแผนงานรองรับการให้บริการ (Service delivery)
-
รับประกันว่า เด็กจะได้รับแผนที่ปรับเฉพาะ (Tailor) ไปตามจุดเด่นจุดแข็ง (Strength) จุดด้อยจุดอ่อน (Weakness) และวิถีการเรียนรู้ (Learning style) ของเขา
-
ช่วยครูและบุคลากรอื่นๆ (อาทิ ผู้บริหาร) ในการทุ่มเทการสอนและทรัพยากรแก่เด็กที่มีความจำเป็นเฉพาะ โดยส่งเสริมการใช้เวลา ความพยายาม และความสามารถพิเศษ (Talent) ของทุกๆ คน
-
ช่วยให้แน่ใจว่า เด็กที่ด้อยความสามารถ ได้รับบริการหลากหลาย (Range of services) จากหน่วยงาน (Agency) อื่นๆ [ของรัฐ] ถ้าจำเป็น และแผนงานต้องระบุความจำเป็นของเด็กแต่ละคนว่า จะได้รับการสนองตอบอย่างไร?
-
อธิบายให้ชัดเจน (Clarify) และปรับปรุง (Refine) การตัดสินใจในสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเด็กว่า จะจัดให้อยู่ในกลุ่มไหน? และควรได้รับการสอนและการช่วยเหลือย่างไร?
-
ทำให้แน่ใจว่า เด็กจะไม่ถูกจัดเข้าประเภท หรือ “ตราหน้า” (Label) โดยปราศจากการพูดคุยถึงความจำเป็นเฉพาะที่ไม่ซ้ำแบบใคร (Unique) ของเด็กแต่ละคน
-
ต้องทบทวนเนื้อหาอย่างน้อยปีละครั้ง ส่งเสริมนักวิชาชีพสำหรับเด็กด้อยความสามารถ ให้พิจารณาเรื่องวิธีการและสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้ กำหนดว่า การวางเงื่อนไข (Prescribe) อะไรที่มีประสิทธิภาพ และวางเงื่อนไขให้แก่กลยุทธ์ใหม่หรือกลยุทธ์ที่ดัดแปลง (Modify)
ในการพัฒนา IEP ผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมในการวินิจฉัย (Diagnosis) สภาวะของการด้อยความสามารถ อาทิ นักจิตวิทยาประจำโรงเรียน (School psychologist) ต้องมีส่วนร่วม ตลอดจนครู พ่อแม่ และเด็ก (หากเห็นว่าเหมาะสม) เนื่องจากทุกวันนี้ เป็นลักษณะชั้นเรียนคละ ครูจึงมีโอกาสพบเด็กที่ด้อยความสามารถในชั้นเรียน ดังนั้น ครูจึงต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนา IEP
บทบัญญัติพิเศษใน IDEA กำหนดให้รัฐสร้างสิ่งจูงใจในการให้บริการแทรกแซงเพื่อแก้ไข (Intervention) แก่ทารกและวัยเตาะแตะ กล่าวคือ เด็กตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 2 ขวบที่มีพัฒนาการช้า หรือผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่า มีสภาวะจิต พร้อมความเสี่ยงสูงในพัฒนาการที่ล่าช้า
การให้บริการเหล่านี้ ได้กำหนดไว้ผ่านแผนการให้บริการครอบครัวแต่ละบุคคล (Individualized family service plan : IFSP) กระบวนการช่วยเหลือทารกและวัยเตาะแตะที่ด้อยความสามารถ เริ่มต้นด้วยการรับช่วงมา (Referral) และการประเมินผล (Assessment) ซึ่งส่งผลให้เกิดการพัฒนา IFSP ที่ได้รับการออกแบบให้ช่วยเหลือครอบครัวบรรลุจุดมุ่งหมาย
แหล่งข้อมูล:
- Morrison, George S. (2014). Fundamentals of Early Childhood Education (7th Ed). Upper Saddle River, NJ: Pearson Education, Inc.
- Individualized Education Programs - http://kidshealth.org/parent/growth/learning/iep.html [2015, December 20].