สารบัญ
บทความที่เกี่ยวข้อง
หนึ่งในความท้าทายที่ครูปฐมวัยต้องเผชิญ คือการบริหารและแนะแนวเด็กที่ด้อยความสามารถ (Disability) ตัวอย่างเช่น ลักษณะเฉพาะ (Characteristics) ของเด็กออทิสติก (Autism) และสมาธิสั้น (Attention deficit hyper-activity disorder : ADHD) ก็คือ เด็กมีปัญหาเรื่องจดจ่อ และพัฒนาความสัมพันธ์ทางสังคม
นักวิจัยพบว่า เด็กจำนวนมากมีปฏิกิริยาตอบสนอง (Interaction) กับหุ่นยนต์ (Robot) ในมิติที่เพิ่มความมั่นใจ (Re-assuring) และสนับสนุน (Supportive) ซึ่งเป็นการสนองตอบ (Response) ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการเรียนรู้ การมีปฏิสัมพันธ์กับหุ่นยนต์ทำให้เด็กออทิสติก ตั้งใจ (Attend) สนองตอบ และอ่าน (แล้วสื่อสาร) ด้วยอารมณ์ความรู้สึก
ในสหรัฐอเมริกา เด็ก 1 คนในทุกๆ 88 คนจะจัดอยู่ช่วง (Spectrum) ของออทิสติก ในปัจจุบัน ไอแพด (iPad) และเครื่องมือประสาทสัมผัส (Sensory tool) กำลังสร้างความแตกต่างในชั้นเรียน โดยเฉพาะหุ่นยนต์ในโลกตะวันตก 5 ตัว กำลังช่วยเด็กออทิสติกให้เข้าใจการชี้แนะทางสังคม (Social cue) และพฤติกรรมทางอารมณ์ (Emotional behavior)
ในสหราชอาณาจักร แคสป้าร์ (Kaspar) เป็นหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้น ณ มหาวิทยาลัยฮาร์ตฟอร์ดไชร์ (Hertfordshire) เพื่อช่วยเด็กออทิสติกให้เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกและการแสดงออกที่ใบหน้า (Facial expression) การแปลงโฉม (Transformation) ครั้งนี้สำคัญมาก เพราะเด็กออทิสติกเริ่มแสดงการสบตาและเลียนแบบ (Mimic) การเคลื่อนไหวอย่างผ่อนคลาย (Relax)
หุ่นยนต์อีกตัวหนึ่งชื่อ คีปป้อน (Keepon) ก็ได้สนับสนุนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์ด้วย และผลลัพธ์ก็คือ เด็กพัฒนาความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับเพื่อนร่วมชั้น ครู และผู้อื่น สภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลายซึ่งหุ่นยนต์ได้ให้กับเด็ก ทำให้เด็กมีอิสรภาพในการฝึกปรือ (Practice) การชี้แนะและการสนองตอบทางสังคม
บัณฑิต (Bandit) เป็นหุ่นยนต์ขนาดเท่าเด็กที่มีรูปร่างเหมือนมนุษย์ มีปากที่เคลื่อนไหวได้และมีคิ้วที่ขมวดได้ เพื่อช่วยให้เด็กออทิสติก แยกแยะ (Sort) ความซับซ้อนที่ละเอียดอ่อนของอารมณ์มนุษย์ การชี้แนะทางสังคม และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม หุ่นยนต์ตัวนี้ออกแบบโดยนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยซัทเทอร์นแคลิฟอร์เนีย (Southern California)
ซีโน่ (Zeno) เป็นหุ่นยนต์ที่สูงเพียง 2 ฟุต (60 เซนติเมตร) สามารถเดินและแสดงอากัปกิริยา (Gesture) ด้วยมือทั้งสอง หุ่นยนต์ตัวนี้ได้รับการออกแบบเพื่อช่วยตรวจวิเคราะห์เด็กออทิสติกตั้งแต่เยาว์วัย โดยเฉพาะในประเด็นการทรงตัว (Balance) ของเด็ก การยื่นไปไขว่คว้าวัตถุ และการเคลื่อนไหวไปรอบๆ ห้อง
นาโอ (Nao) เป็นหุ่นยนต์ทีโปรแกรมได้ เพื่อให้อำนาจเด็กออทิสติก มีอิสรภาพ เป็นที่ยอมรับของสังคม และมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยที่หุ่นยนต์ตัวนี้มีทักษะที่จำหน้าใบคนได้ (Facial recognition) รวมทั้งจดจำอดีตที่ดีและไม่ดีด้วย แต่ถ้าเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย หรือถูกละเลยโดยผู้ดูแลที่เป็นมนุษย์ อาจแสดงความปั่นป่วนได้ (Agitated)
สภาพแวดล้อมการสนทนาที่ไม่เป็นทางการและเปิดเผยของหุ่นยนต์ ช่วยให้เด็กพัฒนาจนได้ทักษะการสื่อสารอย่างช่ำชอง (Master) อันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการอยู่รอด (Survival) และการเจริญเติบโตในโลกแห่งความเป็นจริง (Real world)
แหล่งข้อมูล: